ซูริค ปารีส และฮ่องกง ได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดของโลกกล่าวจากรายงานฉบับใหม่ที่จัดทำบนพื้นฐานเดียวกัน
เมืองเจนีวาจัดเป็นอันดับ 7 จากการสำรวจค่าครองชีพทั่วโลก (Worldwide Cost of Living) ของ Economist Intelligence Unit ที่เผยแพร่เมือวันพุธที่ผ่านมา เมืองซูริคได้เลื่อนขึ้นมา 4 อันดับจากการรายงานครั้งก่อนเมื่อเดือนเมษายน และเจนีวาได้เลื่อนขี้นมา 3 อันดับ ส่วนซูริคและปารีส ได้แซงหน้าสิงคโปร์และโอซากา(ญี่ปุ่น) ซี่งตกอันดับลงมา
จากการสำรวจล่าสุดในเดือนกันยายน พบว่าโควิด-19 มีผลกระทบต่อราคาสินค้าผู้บริโภค โดยอ้างอิงจากราคาของสินค้าและบริการ 138 รายการจาก 130 เมืองใหญ่ทั่วโลก
The EIU’s Worldwide Cost of Living (WCOL) รายงานตัวชี้วัดปรับเพิ่มขึ้น 0.3 จุดโดยเฉลี่ยตลอดปีที่ผ่านมา ในขณะที่เมืองทางฝั่งประเทศสหรัฐอเมริกา แอฟริกา และยุโรปตะวันออก กลายเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพที่ถูกกว่าเมืองทางฝั่งยุโรปตะวันตก ซึ่งมีค่าครองชีพแพงกว่า
ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) และการเปลี่ยนแปลงของสิทธิผู้บริโภค
ส่วนหนึ่งที่สะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นของค่าเงินยุโรป เมื่อเปรียบเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ จากการสำรวจของ EIU พบว่าราคาค่าเงินได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งสอดคล้องกับปัญหาทั้งด้านห่วงโซ่อุปทาน ภาษีและกำลังซื้อ และความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป สินค้าจำเป็นจึงต้องปรับราคาขึ้นกว่าสินค้าที่ไม่จำเป็นในช่วงวิกฤติ
ในบรรดาสินค้าและบริการ 10 ประเภทจากการรายงาน สินค้าประเภทยาสูบและสันทนาการ (รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค) มีราคาเพิ่มสูงที่สุดนับตั้งแต่ปีที่แล้ว และราคาเสื้อผ้ามีราคาลดลงมากที่สุด
“การระบาดของโรคโควิด -19 ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง ในขณะที่สกุลเงินยุโรปตะวันตกและเอเชียเหนือแข็งค่าขึ้น ซึ่งส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น” คุณ Upasana Dutt หัวหน้าฝ่าย Worldwide Cost of Living ที่ EIU กล่าว “การระบาดใหญ่ได้เปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งการล๊อคดาวน์และการทำงานที่บ้าน ส่งผลให้ราคาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคสูงขึ้น และการทานอาหารที่บ้านได้เข้ามาแทนที่ร้านอาหารสำหรับครอบครัวชนชั้นกลาง”
บทความนี้ได้รับการเผยแพร่เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2020 เวลา 01:15 น. โดย The Economist/jc